ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเขียนบทความ



                                                              การเขียนบทความ

ความหมายของบทความ               บทความ  คือข้อเขียนซึ่งอาจจะเขียนเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็นมีลักษณะพิเศษต่างจากความเรียงความธรรมดา  เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นจากพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยใช้หลักฐานการอ้างอิงประกอบในลักษณะวิเคราะห์ปัญหาขัดแย้งต่างๆ หรือในการเสนอความเห็นทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหริอเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม  นิยมใช้ภาษาที่กระชับเป็นทางการเรียบง่าย ชัดเจน มีข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์
จุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ             1. เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
             2. เพื่อพรรณนาทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่
             3. เพื่อเทศนา ชักชวน  ให้ผู้อ่า่นคล้อยตามความคิดของผู้เขียน
             4. เพื่ออธืบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม
ประเภทของบทความ            ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ดังนี้
            1.ประเภทปัญหาโตแย้ง
            2.ประเภทเสนอคำแนะนำ
            3.ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
            4.ประเภทกึ่งชีวประวัติ  หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
            5.ประเภทเปรียบเทียบ สมมุติ หรืออุปมาอุปไมย
หลักการเขียนบทความ            1. การเลือกเรื่อง  เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน  เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง  หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้            2. การวางแผนก่อนการเขียน  เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร     โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 
                2.1 กลุ่มผู้อ่าน  ผู้เขียนต้องคำนึงถึงอายุ  เพศ  รายได้  การศึกษา  อาชีพ  ความรู้  ในเรื่องความรู้ต้องคิดด้วยว่าผู้อ่านรู้อะไรบ้าง  รู้เรื่องนั้น ๆ ดีพอเพียงใดที่ผู้อ่านต้องการรู้และผู้อ่านจะได้รับข่าวสารที่ผู้เขียนเขียนได้อย่างไร
                2.2 กำหนดวัตถุประสงค์  ในข้อนี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนบทความนี้ไปทำไม  เช่น  เพื่อให้ข่าวสาร  สร้างความคิดที่ดี  หรือเพื่อโน้มน้าวใจ  โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจต้องให้ผู้อ่านเกิดความต้องการหรือตระหนักในปัญหาก่อน  จากนั้นค่อยเสนอทางออกพร้อมกับยกตัวอย่างและหลักฐานที่ผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพพจน์แล้วสรุปอีกครั้งในจุดที่ผู้เขียนต้องการ เป็นต้น              2.3 การรวบรวมเนื้อ  การเขียนบทความไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม  สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงหลักฐาน  ข้อเท็จจริง  ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนจำเป็นจะต้องสืบเสาะหาเรื่องราวให้มีความรู้เพียง                  2.3.1 การค้นคว้าข้อมูลด้านวิทยาการจากหนังสือ  และเอกสารต่างๆ เช่น จากห้องสมุดหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  จากหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ                      2.3.2 การสัมภาษณ์บุคคลที่ต้องการจะเขียนถึง  หรือจากบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการจะเขียน                      2.3.3 การสนทนาหรือพูดคุยกับบุคคลทั่วไป  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน                      2.3.4 การเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วจดบันทึกสิ่งที่ได้พบได้เห็น  ซึ่งจะเป็นการสร้างสีสันให้งานเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น                      2.3.5 การสืบเสาะเรื่องราวต่างๆ ว่าเกิดขึ้นกับใคร  ที่ไหน  อย่างไร  แล้วจึงติดตามไปยังแหล่งที่เกิดเหตุ  ติดตามดูสถานที่  การกระทำ  เหตุการณ์        3. การจัดเนื้อหา  ได้แก่การวางโครงเรื่องของบทความ  ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา  ความคิด ของเรื่องราวนั้น ๆ เป็นต้นว่า  จะลำดับความอย่างไร  ส่วนไหนต้องใช้เป็นคำนำ  เนื้อหา  และสรุป        4. การเรียบเรียงเนื้อหา คือ การนำโครงเรื่องที่วางไว้มาขยายความให้ครบถ้วนได้  ความหมายที่ชัดเจน  น่าอ่าน  โดยต้องสอดคล้องกับรูปแบบและขนาดของบทความ        5. การตรวจแก้ไข  เมื่อเขียนบทความเรียบร้อยแล้ว  ควรมีการตรวจทานเสียก่อน  เพื่อกันความผิดพลาดก่อนบทความตีพิมพ์สู่ผู้อ่าน        6. ส่งบทความไปเผยแพร่  ควรส่งบทความให้ตรงตามเวลา  เพื่อบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์  คนจัดรูปเล่ม  จะได้ทำหน้าที่ของเขาได้ดีที่สุด

ภาพ 1 แสดงหลักการเขียนบทความ


ลักษณะของบทความที่ดี          
            1.น่าสนใจ  มีเนื้อหาเหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
            2.มีสาระแก่นสาร  มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
            3.มีขนาดกะทะรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆ  ถูกต้องตามหลักภาษา
            4.ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
            5.มีวิธีการเขียนน่าสนใจ  น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป


ภาพ 2 แสดงการเขียนบทความที่ดี
                                         ตัวอย่างการเขียนบทความที่ดี
                                           คลิปอธิบายการเขียนบทความ